วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่

สภาพชุมชน เศรษฐกิจ สังคม   วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่

       ชุมชน สภาพชุมชน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่
อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ อยู่ห่างจากตัวอำเภอเหนือคลอง 8 กิโลเมตร อำเภอเหนือคลองมีจำนวนหมู่บ้าน 56 หมู่บ้าน 8 ตำบลประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยาง มีหน่วยงานราชการที่อยู่ใกล้เคียงกับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่ดังนี้
    1)   สถานีอนามัยบ้านห้วยคราม 
    2)   โรงเรียนวัดห้วยคราม
    3)   วัดห้วยคราม
    4)   หน่วยบริการตำรวจหมู่บ้าน

         ชุมชนโดยรอบวิทยาลัยฯ  เป็นชุมชนเกษตรแบบครอบครัว  และเป็นสังคมขยาย  รายได้ส่วนใหญ่มาจากระบบการปลูกพืช  มีที่ดินเป็นของตนเองทั้งที่มีหลักฐานที่ดินและไม่มีกรรมสิทธิ์   ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานและวัยหนุ่มสาวอยู่สภาวะมีรายได้น้อย  การพัฒนาอาชีพยังไม่ได้รับการพัฒนาที่เหมาะสม  สภาพบ้านเรือนทั่วไปเป็นบ้านเรือนถาวรเรียงรายกระจายตามถนนเส้นทางคมนาคม  สภาพการค้าขายในชุมชนรอบวิทยาลัยฯ  อาศัยตลาดอำเภอเป็นส่วนใหญ่  ทั้งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคและจำหน่ายสินค้าเกษตรของตนเอง  การมีส่วนร่วมของชุมชนกับวิทยาลัยฯ  ส่วนใหญ่เป็นการขอใช้สถานที่  ขอให้เป็นวิทยากรและกิจกรรมทางศาสนา โครงการที่จะร่วมกันในอนาคต  คือ   การส่งเสริมอาชีพและสร้างหมู่บ้านตัวอย่าง   เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งทางการเกษตร
         ภูมิปัญญาท้องถิ่น    จังหวัดกระบี่เป็นเมืองเก่า  แขวงปกาสัย   อยู่ในอำนาจการปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช  ในสมัยราชกาลที่   4   และต่อมาในพ.ศ. 2415  พระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  5 ได้โปรดเกล้ายกฐานะแขวงขึ้นเป็นเมืองและพระราชทานนามว่า “เมืองกระบี่”      
จากข้อความข้างต้นทำให้ทราบว่ากระบี่เป็นเมืองเก่าเมืองหนึ่ง  ซึ่งมีศิลปวัฒนธรรมโบราณ  และวัฒนธรรมพื้นบ้านเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง  และเมื่อบ้านเมืองได้พัฒนาเจริญขึ้นกลายเป็นเมืองแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามที่สุดในอันดามันจนได้ขนานนามว่าเป็น  “ไข่มุกอันดามัน”    มีภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนี้

          1. นายตรึก  ปลอดฤทธิ์     ศิลปินแห่งชาติ   สาขาลิเกป่า
          2. นาย กลิ่น  คงเหมือนเพชร    สาขาโบราณคดี
          3.  นายสมชาย  สิทธิโชค     สาขาการเกษตรและอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม
          4.  นายเสกสรรค์  คำแก้ว      สาขาการเกษตรและอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม
          5.  นายสงวน  มงคลศรีพันธ์เลิศ     สาขาการเกษตรอินทรีย์

         แหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอก 
แหล่งเรียนรู้ภายในวิทยาลัย  นักเรียน  นักศึกษา และประชาชนทั่วไป  สามารถเรียนรู้และสืบค้นข้อมูลด้านต่าง ๆ  จาก ห้องสมุด  ห้องบริการอินเทอร์เน็ตของวิทยาลัย  ฟาร์มพืชและฟาร์มสัตว์  สามารถเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงก่อเกิดทักษะในการทำงาน
แหล่งเรียนรู้ของเยาวชน  จากชุมชน   ภูมิปัญญาท้องถิ่นและจากธรรมชาติ  ซึ่งในจังหวัดกระบี่  มีมากมายหลายสาขา  เช่น

     1. สาขาโบราณคดี  ได้แก่  ควนลูกปัด  ถ้ำมนุษย์โบราณ  ซากเรือโบราณ แห่งเมือง ปกาสัย  ภูมิปัญญา
     2. สาขาศิลปะและวัฒนธรรม  ได้แก่  การเขียนผนังถ้ำ   ถ้ำผีหัวโต    ถ้ำไวกิ้ง   ประเพณี เดือนสิบ   ลิเกป่า
         รองแง็ง   มโนราห์  หนังตลุง  ฯลฯ  ภูมิปัญญา  
     3.  สาขาการท่องเที่ยว  ได้แก่  เกาะแก่ง น้ำตก  ปีนผา  ซึ่งมีมากมาย  รวมทั้งท้องทะเลที่ สวยงาม   
          และมีเรือหัวโทงเป็นเรือสัญลักษณ์ภูมิปัญญา และส่งออกของกระบี่  ภูมิปัญญา
     4.  สาขาการเกษตรและอุตสาหกรรม    ได้แก่    อาชีพสวนปาล์มน้ำมัน    สวนยางพารา  สวนส้มโชกุน      
          และโรงงานแปรรูปผลปาล์มน้ำมันซึ่งมีมากที่สุดในประเทศไทย  ภูมิปัญญา